
ผลิตภาพงานติดตั้งงานระบบ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
Productivity of System Works of Pink Line Monorail Construction Project
ศุภลักษณ์ พรรณนา1,* วรรณวิทย์ แต้มทอง2
1 นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จ.กรุงเทพมหานคร
2 ศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จ.กรุงเทพมหานคร
*Corresponding author; E-mail address: s6401082856083@email.kmutnb.ac.th
บทคัดย่อ
การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นโครงการหนึ่งในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีปัญหาจราจรและย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่น โครงการก่อสร้างจะสำเร็จนั้นต้องพบปัญหาและอุปสรรคทั้งปัจจัยภายนอกและภายในโครงการ งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพและแนวทางการเพิ่มผลิตภาพของงานติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า โดยศึกษา2 ระบบคือ ระบบจ่ายไฟฟ้าในกิจกรรมการติดตั้งรางเดินสายไฟและระบบประตูกั้นชานชาลาในกิจกรรมการติดตั้งกลไกและส่วนประกอบของประตูกั้นชานชาลา ทำการบันทึกผลและเวลาที่ใช้ทำงานของแต่ละกิจกรรมด้วยวิธีประเมินราย 5 นาที (5-Minute Ratings) และนำผลผลิตภาพที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอในรูปของ Flow-Diagram,Process Chart และ Crew Balance Chart และนำเสนอแนวทางการเพิ่มผลิตภาพของงานดังกล่าว ผลการศึกษาพบงานติดตั้งรางเดินสายไฟมีผลิตภาพเฉลี่ย 0.78 เมตร/คน/ชั่วโมง การติดตั้งกลไกและส่วนประกอบของประตูกั้นชานชาลามีผลิตภาพเฉลี่ยในงานเจาะพื้นฝังน็อต 6.87 รู/คน/ชั่วโมง, งานเจาะพื้นคอนกรีตมีค่าผลิตภาพรวมเฉลี่ยสำหรับขนาดกระบอก3.5 และ 7.0 เซนติเมตร คือ 0.86 และ 0.61 รู/คน/ชั่วโมง ตามลำดับ, งานติดตั้งเหล็กฉากมีค่าผลิตภาพเฉลี่ย 2.08 เมตร/คน/ชั่วโมง, งานติดตั้งเสาPost ค่าผลิตภาพเฉลี่ย 1.28 ต้น/คน/ชั่วโมง, และงานติดตั้งประตูกั้นชานชาลา ค่าผลิตภาพเฉลี่ย 0.49 บาน/คน/ชั่วโมง พบปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพได้แก่ พื้นที่ทำงาน, วัสดุอุปกรณ์การทำงาน, การคัดเลือกและจัดชุดคนงาน,ระยะทางของวัสดุและแรงงาน และความยากของงานติดตั้ง ส่วนแนวทางการเพิ่มผลิตภาพคือ จัดหาอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการทำงาน, จัดจำนวนคนงานให้เหมาะสมกับกิจกรรม, การพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมามาปฏิบัติติงานที่มีความสามรถ, กำหนดผู้ประสานงานในแต่ละสถานีให้ชัดเจน, และพิจารณาชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม
คำสำคัญ : การประเมินราย 5 นาที, งานระบบ, ผลิตภาพ, รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้าสายสีชมพู
Abstract
The Pink Line mass transit system (Khae Rai - Min Buri) is one of the mass transits planned in Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region. The Pink Line network has been planned to accommodate travel demand in northern Bangkok areas. A successful construction project must overcome problems and obstacles from both external and internal factors. This research studies factors affecting productivity and propose the improvement of the system work of a monorail construction project. Two systems were studied. They are power supply system in activity of a cable containment installation and platform screen door system in activity a mechanic installation of the platform screen door. Data collection were done through the Five-Minute Rating Method. Data were analyzed and represented in flow diagrams, process charts, and crew balance charts. Average productivity rates are 0.78 meter/person/hour for the cable containment installation, 8.24 hole/person/hour for concrete drilling, 0.86 and 0.51 hole/person/hour for concrete coring size 3.5 and 7.0 centimeter respectively, 2.08 meter/person/hour for gap filler mounting plate installation, 1.28 pole/person/hour for intermediate post installation and 0.49 door/person/hour for the platform screen door installation. Factors that affect productivity are working area, equipment, manpower, distance of material and worker, and difficulty in installation. Productivity improvement plan can be listed as providing workers with work skills for less support work and equipment, identifying conditions for subcontractor registration in the project, assigning a coordinator for each station to solve construction site issues, and consideration of working hours in case of continuously working for a long time to increase productivity.
Keywords : Five-Minute Rating, Monorail, Monorail Pink Line, Productivity, System work.