การศึกษาปัญหาความล่าช้าในงานก่อสร้างของสัญญาจ้างออกแบบและก่อสร้าง
Study of Construction Delays in Design-Build Contracts
รัชชวิทย์ ระวังสำโรง1,* และ วรรณวิทย์ แต้มทอง2
1 นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จ.กรุงเทพมหานคร
2 ศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จ.กรุงเทพมหานคร
*Corresponding author; E-mail address: ratchawitt.r@hotmail.com
บทคัดย่อ
สัญญาประเภทจ้างออกแบบและก่อสร้าง ได้ถูกนำมาใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชนมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยลดระยะเวลา ของโครงการลง โดยการโอนความเสี่ยงมาอยู่ที่ฝ่ายผู้รับจ้าง และทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในหลายด้าน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียด และขั้นตอนการทำงานวิเคราะห์ปัญหาความล่าช้าที่พบในโครงการ จากกรณีศึกษาจำนวน 2 โครงการ คือ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) โดยการใช้แบบสอบถามในการสำรวจรายละเอียดข้อมูลทั่วไปของโครงการ ขั้นตอนการทำงานออกแบบและก่อสร้าง และการวัดระดับความสำคัญของปัญหาความล่าช้า ผลการเก็บข้อมูลจากผู้รับจ้างในโครงการ จำนวน 28 คน พบว่ามีการทำงาน 2ลักษณะ คือ บริษัทผู้รับจ้างหลักของคนไทย กับบริษัทผู้รับจ้างช่วงของชาวต่างชาติ บริษัทผู้รับจ้างหลักจะทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการ และบริษัทผู้รับจ้างช่วงจะทำหน้าที่ส่วนออกแบบและส่วนก่อสร้าง ซึ่งได้ว่าจ้างบริษัทผู้ออกแบบช่วงของชาวต่างชาติทำการออกแบบงานก่อสร้างหลักที่สำคัญ สำหรับปัญหาในการทำงานเกิดจากปัญหาการสื่อสารและประสานงานภายในของคณะทำงานออกแบบและก่อสร้าง ปัญหาการออกแบบงานก่อสร้างล่าช้าและผิดพลาด ปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอและขาดความเชี่ยวชาญ ปัญหาการบริหารจัดการภายในคณะทำงานออกแบบและก่อสร้างจากวัฒนธรรมองค์กรและระบบการทำงานที่แตกต่างกัน ปัญหาการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างและการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างของเจ้าของโครงการผลการศึกษาพบว่าความล่าช้าที่พบเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) การออกแบบล่าช้า 2) การขาดสภาพคล่องทางการเงินของผู้รับจ้าง 3) การออกแบบที่ผิดพลาด 4) รายละเอียดของแบบก่อสร้างไม่ชัดเจน และ 5) การไม่จ่ายเงินให้ผู้รับจ้างย่อย
คำสำคัญ : ความล่าช้า, ความเสี่ยง, สัญญาจ้างออกแบบและก่อสร้าง
Abstract
Design-Build contracts are commonly employed in large public and private construction projects to expedite project completion and shift all risk to the contractor, but their use may result in issues. This study aims to scrutinize project details and procedures and examine the factors contributing to construction delays in two case study projects, namely the Intercity Motorway M6 Project (Bang Pa-In – Nakhon Ratchasima) and the Intercity Motorway M81 Project (Bang Yai - Kanchanaburi). A survey was conducted to determine project particulars, design and construction procedures, and factors leading to construction delays. Interviews with contractors revealed two levels of management, namely main and subcontractors, with the former handling project management and the latter responsible for design and construction, hiring a foreign designer for the construction works. Issues arose from internal coordination of the design and construction working group, design delays and errors, insufficient personnel, lack of expertise, and inadequate management of the design and construction group. Cultural differences and working systems in foreign companies were also sources of conflict. Further problems included issues with the handover of the construction area and modifications to the construction design by the project owner. The study identified several factors contributing to construction delays, including delays in design processes, insufficient financial liquidity of subcontractors, errors in construction design drawings, unclear details in construction drawings, and non-payment to the subcontractors.
Keywords : Delay, Design Build Contract, Risk