การศึกษาหลักเกณฑ์การเปลี่ยนท่อจ่ายน้ำในพื้นที่นครหลวง
Study of Water Pipeline Replacement Criteria for Metropolitan Area
มนทิชา พุ่มอรุณ1 ,* กวิน ตันติเสวี2
1,2ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ
บทคัดย่อ
ปัญหาน้ำสูญเสียนับเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในการให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากทำให้เกิดการสูญเสียน้ำโดยไม่จำเป็นและก่ออุปสรรคให้กับผู้สัญจรและผู้อาศัยบริเวณใกล้เคียง น้ำสูญเสียมีสาเหตุหลักจากท่อจ่ายน้ำประปามีการแตกรั่ว ดังนั้นการปรับปรุงท่อประปาที่เสื่อมสภาพจึงเป็นการป้องกันการเกิดน้ำสูญเสียในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนท่อจ่ายน้ำประปาต้องมีการคัดเลือกและวางแผนในการดำเนินงาน เนื่องจากท่อจ่ายน้ำประปามีความยาวมาก และในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านวัสดุที่ใช้ทำท่อ อายุการใช้งาน รูปแบบการติดตั้ง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกณฑ์ในการคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญเส้นท่อในการปรับปรุงท่อจ่ายน้ำ งานวิจัยนี้แบ่งเกณฑ์การคัดเลือกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) พิจารณาความเสื่อมของระบบท่อประปา และ 2) พิจารณาโอกาสที่จะได้รับอนุญาตเข้าดำเนินการปรับปรุงเส้นท่อจ่ายน้ำ จากนั้นจึงใช้วิธีการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (AHP) เพื่อประเมินความสำคัญของเกณฑ์ต่าง ๆ โดยการเปรียบเทียบรายคู่ (Pair-Wise Comparison) จากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานน้ำสูญเสียมากกว่า 10 ปี จำนวน 3 ท่าน เมื่อได้เกณฑ์ในการคัดเลือกแล้ว ได้นำมาทดสอบความสมเหตุสมผลโดยการประเมินความสำคัญของท่อจ่ายน้ำประปาของการประปานครหลวง (กปน) จำนวน 12 เส้นทาง พบว่าเกณฑ์การคัดเลือกที่ พัฒนาขึ้นให้ผลสอดคล้องกับผลการคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนท่อจ่ายน้ำของ กปน. จริง โดยจำนวน 8 เส้นทางที่ได้ถูก กปน. คัดเลือกให้เปลี่ยนเส้นท่อจ่ายน้ำ ได้รับคะแนนความสำคัญตามเกณฑ์การคัดเลือกที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าร้อยละ 50 ในขณะที่อีก 4 เส้นทางที่เหลือที่ไม่ได้รับการคัดเลือกได้คะแนนความสำคัญน้อยกว่าร้อยละ 50
คำสำคัญ : กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (AHP), น้ำสูญเสีย, การคัดเลือกเล้นทางปรับปรุงท่อจ่ายน้ำ
Abstract
studying the criteria for selecting and prioritizing pipelines for the maintenance water-distribution system. It used the Analytic Hierarchy Process (AHP), which is a multi-criteria decision-making technique based on paiwise comparison test. It classified the selection criteria into two groups : 1) the level of deterioration of the water-distribution system; and 2) the site access probability which indicates the chance of technicians being allowed to replace a selected pipeline. Then, it evaluated the priority of each selection criteria based on opinions from 3 specialists who had experience with water loss for more than 10 years. Once the selection criteria were developed, they were used to assess the needs to replace pipeline in 12 water distribution routes owned by the Metropolitan Waterworks Authority ( MWA) for validation purposes. The validation showed that the developed selection criteria had consistent results with the actual selection made by MWA for pipeline replacement as among the 12 routes, there were 8 routes selected by MWA for replacement and all the 8 routes had a total score of more than 50%. In addition, the remaining 4 routes that were not selected were ranked lowest by the developed selection criteria and had a total score of less than 50%.
Keywords : Analytic Hierarchy Process ( AHP), Water Loss. Pipeline replacement