
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์การใช้พลังงานของอาคารด้วย
โปรแกรมวิเคราะห์พลังงานสำเร็จรูป และแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM)
A Comparative Study of Building Energy Evaluation and BIM Software System
รินทร์ลภัส ทัพพ์ดิเรกลาภ1,* ธนภัทร สิทธิเชนทร์2 ภัสสราภรณ์ โสดาวงษ์3 ธนธรณ์ หงษ์โต4 พิจิตร เจียมวรางกูร5 และ กวิน ตันติเสวี6
1-6 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร
*Corresponding author; E-mail address: s6501082856015@email.kmutnb.ac.th
บทคัดย่อ
จากความกังวลเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนนำไปสู่แนวคิดการออกแบบอาคารเพื่อความยั่งยืนและนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ผู้ประกอบการอาคารต่างๆจึงต้องให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานและมีการประเมินการใช้พลังงานในอาคารตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ในปัจจุบันมีเครื่องมือสำหรับช่วยผู้ออกแบบในการคำนวณ เช่น โปรแกรม BEC ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับคำนวณค่าพลังงานของอาคารที่ถูกบังคับใช้ตามประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดค่ามาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2564 โปรแกรม Hourly Analysis Program (HAP) ซึ่งใช้ในการคำนวณหาภาระการปรับอากาศรวมถึงคำนวณค่าพลังงานทุกชั่วโมงในรอบปีได้ และโปรแกรมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ซึ่งสามารถช่วยในการถอดปริมาณงานวิเคราะห์พลังงานจากแบบจำลอง 3 มิติ เป็นต้น งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์การใช้พลังงานของเครื่องมือทั้ง 3 แบบข้างต้น โดยจัดทำกรณีศึกษาในอาคารขนาดใหญ่ เพื่อให้ทราบถึงจุดเด่น-จุดด้อย ตลอดจนแนวทางการพัฒนาในอนาคต เพื่อลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านการวิเคราะห์พลังงาน
คำสำคัญ : พลังงาน, แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, ปรับอากาศ, BEC
Abstract
A rising concern over global warming has led to emergence of sustainable building design concepts and government policies promoting energy conservation. Consequently, building practitioners need to put emphasis on energy efficiency and is necessary that building energy consumption be assessed during the design phase. Currently, there are software tools available for designers to perform such assessment. For instance, the Building Energy Code (BEC) program is a software tool for evaluating building energy consumption in compliance with the Ministry of Energy's announcements, outlining the standards for energy-efficient building designs in the year 2021. Another tool is the Hourly Analysis Program (HAP), capable of calculating air conditioning loads and energy values for each hour throughout the year. Additionally, there are Building Information Modeling (BIM) software tools that can perform quantity take-off and energy analysis based on a 3D model. This research aims to study and compare these three different approaches for evaluating building energy performance based on a real-world large building project. This research also identifies their strengths and weaknesses, along with opportunities for improvement to minimize errors and enhance efficiency in energy analysis.
Keywords : Energy, BIM, Air Conditioning, BEC