การศึกษาการบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงในโครงการปรับปรุงซ่อมแซมภายในอาคารมหาวิทยาลัย
A Study of Risk Identification and Assessment in University Building Interior Renovation Projects
เกียรติศักดิ์ สังข์ทอง1,* กมลวัลย์ ลือประเสริฐ2
1 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร
2 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร
*Corresponding author; E-mail address: s6501082856074@email.kmutnb.ac.th
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการปรับปรุงซ่อมแซมภายในอาคารที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงเนื่องจากสภาพการใช้งานไม่เหมาะสม หรือมีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานตามความจำเป็น โดยทำการศึกษาจากกรณีศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 20 โครงการ ที่มีมูลค่างานระหว่าง 0.6-40 ล้านบาท ในระหว่างปี พ.ศ. 2560-2566 โดยทำการรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นจากเอกสารโครงการ ได้แก่ เอกสารประกอบสัญญา รายงานการประชุม รายงานประจำเดือน บันทึกข้อความต่างๆ แยกออกเป็น 24 รายการความเสี่ยง จากรายการปัญหาที่เกิดขึ้นจำนวน 146 รายการ พบว่า เหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ เจ้าของโครงการสั่งหยุดการทำงาน ข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ไม่ระบุในเอกสารข้อกำหนดโครงการ (TOR) และการออกแบบที่ไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง ส่วนรายการความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อโครงการมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ ความล่าช้าในการตัดสินใจของเจ้าของโครงการ ปัญหาทางด้านการเงินของผู้รับจ้าง และการเกิดโรคระบาด แต่เมื่อวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงโดยพิจารณาโอกาสในการเกิดร่วมกับผลกระทบของแต่ละรายการ พบว่ารายการที่มีระดับความเสี่ยงสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ปัญหาทางด้านการเงินของผู้รับจ้าง การเกิดโรคระบาด การขาดแคลนแรงงานของผู้รับจ้าง โดยพบว่ามีการใช้แนวทางการตอบสนองความเสี่ยงเพื่อแก้ไขหรือลดผลกระทบมากที่สุดคือ แนวทาง หลีกเลี่ยง ลดผลกระทบ และถ่ายโอน/แบ่งปัน
คำสำคัญ: ความเสี่ยงในงานปรับปรุงอาคาร, การบ่งชี้ความเสี่ยง, การประเมินความเสี่ยง
Abstract
This study aims to assess the risks associated with the renovation and improvement of the interiors of a building that requires upgrading due to inadequate usage conditions or changes in functions of the facility. The study draws from a case analysis of 20 renovation projects of a university in Bangkok, with project values ranging from 0.6 to 40 million Baht in 2017-2022. The study collected incident data from project documents such as contract appendices, meeting reports, monthly reports, and various memos. The incidents can be summarized to 24 risk items from the total of 146 incidents. After analyzing the overall results, the top 3 risks with the highest occurrence were: order to cease operation by owner; additional requirements or procedures beyond specifications; and mismatch between the design or layout plan with the actual site. The top 3 events with the highest impact were: the delay due to delayed decision-making of project owners; financial issues of the contractors; and the impact from the pandemic. When assessing the risk levels based on the occurrence and the impact of each incident, the top 3 risks were financial issues of the contractors; the impact from the pandemic; and workforce shortage among contractors. It is also found that top risk response strategies used were avoidance, mitigate and transfer or share strategies.
Keywords : Risks in building renovation, Risk identification, Risk assessment