การศึกษาการใช้ลีนในการบริหารงานก่อสร้างร้านค้าสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
A Study of Using LEAN to manage construction of Convenient Store in
Bangkok Metropolitan Area
ปรารีวัต ศักดารักษ์1
1 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร
*Corresponding author; E-mail address: s6501082856040@email.kmutnb.ac.th
บทคัดย่อ
งานก่อสร้างธุรกิจร้านสะดวกซื้อได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทุกพื้นที่ เนื่องจากการให้บริการของร้านสะดวกซื้อมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการประมูลงานและดำเนินการก่อสร้างหลายพื้นที่ในประเทศไทย อีกทั้งรูปแบบของร้านสะดวกซื้อมีลักษณะจำเพาะ การวางแผนและปรับปรุงงานก่อสร้างให้เกิดประสิทธิภาพ จะทำให้สามารถลดต้นทุนและระยะเวลาในการก่อสร้างโครงการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้จึงประยุกต์ใช้หลักการลีนในการลดความสูญเปล่าในงานก่อสร้างโดยเก็บข้อมูลความสูญเสียจากโครงการกรณีศึกษา และทดสอบใช้หลักการลีนในการก่อสร้างของอีกโครงการที่มีลักษณะเดียวกัน โดยเก็บข้อมูลความสูญเสียจากกระบวนการก่อสร้างตั้งแต่งาน งานเสาเข็ม ฐานราก และงานพื้น ไม่รวมงานสถาปัตย์ และงานระบบ โดยพบว่าปริมาณของเสียและความสูญเปล่าในงานก่อสร้าง ได้แก่ เศษเหล็ก เศษคอนกรีต การผูกเหล็กที่ล่าช้า การเข้าแบบหล่อคอนกรีตที่ไม่ได้วางแผน การทำงานล่วงเวลา การรอคอยวัสดุสั่งผลิต และการใช้เครื่องจักรโดยไม่มีการวางแผน ทำให้งานล่าช้ากว่าแผน โดยนำหลักการลีนมาปรับใช้โดยการตัดและดัดเหล็กมาจากโรงงาน วางแผนการใช้ไม้แบบ การนำวัสดุคอนกรีตที่เหลือใช้ไปใช้ในการทำงานอื่น กำหนดเป้าหมาย และวางแผนการก่อสร้างให้ชัดเจนกับหัวหน้างาน ทำให้สามารถลดเศษวัสดุคอนกรีต เศษเหล็กและลดระยะเวลาการทำงานให้ตรงตามแผนงาน โดยต้นทุนการก่อสร้างร้านสะดวกซื้อลดลงจากเดิม 24,856.6 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.38 ของมูลค่างาน
คำสำคัญ : ความสูญเปล่า, หลักการลีนในงานก่อสร้าง, ร้านสะดวกซื้อ
Abstract
The construction business of convenience stores has gained popularity widely in various areas due to the essential services they provide for daily living. This led to an increase in construction of convenience stores in many regions of Thailand. For this reason, the construction industry needs to find ways to reduce costs and time efficiently in construction. The objective of this research is to apply the principles of Lean Construction to minimize waste in construction projects. In this construction project, a case study is conducted on a convenience store in Bang Phli district. The study focuses on waste during the construction process, including foundation work, column, and structural building elements, excluding architectural work and system work. Information obtained from this study includes construction methods for each process, material quantities, construction plans, and productivity ratings. Then the PDCA (Plan Do Check Act) cycle from Lean Construction is applied to improve waste and inefficiencies in the construction process.
The study found that the amount of waste and inefficiency in construction work are steel scraps, concrete scraps, delayed steel binding, unplanned concrete formwork uses, excessive overtime (OT). The Lean Construction has been applied by ordering bent steel from factories, planning the use of formwork, utilizing leftover materials for other works, training workers on work methods, setting clear targets with supervisors to speed up work completion. This has successfully reduced concrete and steel scraps, and overtime work by 20 hours, leading to a decrease in the construction cost of a convenience store 11,807 baht in the first phase of the project, which is equivalent to 0.69% reduction from the value of the first phase.
Keywords : Waste, LEAN Construction, Convenient Store