การปรับปรุงขั้นตอนในการก่อสร้างวางท่อประปา และการวางแผนงานก่อสร้างล่วงหน้าด้วยวิธี RSM เพื่อลด
ข้อร้องเรียนจากประชาชน
Improving the construction process for laying water pipes and preplanning the construction
with RSM to reduce complaints from the public
นนทกร เอกวานิช และ วรรณวิทย์ แต้มทอง
สาขาวิชา : การบริหารงานก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
บทคัดย่อ
การประปานครหลวงผลิต ให้บริการจำหน่ายน้ำประปาสู่ประชาชน โดยระหว่างกระบวนการในการสูบจ่าย และลำเลียงน้ำ มีปริมาณน้ำที่ สูญเสียเกิดขึ้นจากท่อประปาแตกรั่วเป็นสาเหตุหลัก จึงมีนโยบายวางท่อ ประปาใหม่ทดแทนในพื้นที่นั้น ๆ โดยการวางท่อประปาใหม่ส่งผลให้เกิดข้อ ร้องเรียนจากประชาชนมากมาย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุง ขั้นตอนในการก่อสร้างวางท่อประปารวมถึงวางแผนงานก่อสร้างให้ สอดคล้องกับขั้นตอนการก่อสร้างที่ปรับปรุง เพื่อลดข้อร้องเรียนจาก ประชาชน และเพิ่มผลิตภาพในงานก่อสร้าง โดยเริ่มต้นเก็บข้อมูลสถิติเรื่อง ร้องเรียนในรอบ 6 เดือน ช่วง 1 พ.ค.64 ถึง 1 พ.ย. 64 วิเคราะห์หาสาเหตุ พร้อมทั้งแนวทางการจัดการความเสี่ยง เพื่อนำไปปรับปรุงขั้นตอนในการ ก่อสร้างวางท่อประปา กรณีศึกษา คือ โครงการวางท่อประปาเพื่อลดน้ำ สูญเสียซอยบางกร่าง 30 จังหวัดนนทบุรี ใช้วิธีการเก็บข้อมูลผลิตภาพงาน ก่อสร้าง ด้วยวิธีการประเมินราย 5 นาที เพื่อปรับปรุงผลิตภาพงานก่อสร้าง วิเคราะห์สถิติงานก่อสร้างต่อวัน เพื่อวางแผนงานก่อสร้างด้วยวิธีการ วางแผนงานก่อสร้างแบบซ้ำ (RSM) ให้สอดคล้องกับขั้นตอนการก่อสร้างที่ ปรับปรุงแล้ว
คำสำคัญ : การประเมินราย 5 นาที, ผลิตภาพงานก่อสร้าง, การวางแผนงาน แบบซ้ำ
Abstract
Metropolitan Waterworks Authority produces Providing water distribution services to the public during the metering process and transporting water There is a large amount of water loss caused by leaking plumbing pipes as the main cause. Therefore, there is a policy to place new water pipes to replace in that area by placing new water pipes resulting in many complaints from people. This article aims to improve the construction process for laying water pipes, including planning the construction work in accordance with the improved construction process. to reduce complaints from the public and increase productivity in construction By starting to collect statistical data on complaints in the past 6 months from 1 May 2021 to 1 Nov 2021, analyze the causes and guidelines for risk management. to improve the process of laying water pipes A case study was the project to lay water pipes to reduce water loss in Soi Bang Krang 30, Nonthaburi Province. Use a method for collecting construction productivity data. with a 5-minute assessment method to improve construction productivity Analysis of construction statistics per day To plan the construction work using the Repetitive Construction Planning (RSM) method in accordance with the updated construction process.
Keywords : Keywords : 5-minute rating, construction productivity, Repetitive Scheduling Method